ต่อให้คุณจะใช้เครื่องกรองน้ำคุณภาพดี ราคาสูงแค่ไหน แต่หากไม่หมั่นทำความสะอาด ซ่อม หรือเปลี่ยนอะไหล่เครื่องกรองน้ำตามอายุการใช้งานของมัน ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องกรองน้ำลดลงและอาจกรองเอาสิ่งสกปรกออกได้ไม่หมด หากดื่มน้ำไม่สะอาดเข้าไปก็อาจเกิดการสะสมและเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ในระยะยาว ว่าแต่อะไหล่สำคัญๆ ของเครื่องกรองน้ำมีกี่ชิ้น ทำหน้าที่อะไร มีอายุการใช้งานกี่ปี วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาฝากค่ะ
อะไหล่เครื่องกรองน้ำ RO มีอะไรบ้าง
1. ไส้กรอง (Filters)
ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่สุดของเครื่องกรองน้ำ RO เลยก็ว่าได้ ต่อให้อะไหล่ชิ้นอื่นทำงานได้ดี แต่ไส้กรองกรองได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้น้ำดื่มที่ได้มีคุณภาพต่ำ มีสิ่งปนเปื้อนปะปนอยู่ในน้ำและสะสมอยู่ในร่างกายจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ในระยะยาว โดยทั่วไปแล้วไส้กรองจะมีอายุการใช้งานประมาณ 6-12 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของไส้กรอง ดังนี้
- ไส้กรองหยาบ (Sediment Filter) เป็นไส้กรองที่ใช้ในการกรองฝุ่น ตะกอน และสิ่งสกปรกขนาดใหญ่ มีอายุการใช้งานประมาณ 6-12 เดือน
- ไส้กรองคาร์บอน (Carbon Filter) เป็นไส้กรองที่ใช้ในการกำจัดคลอรีน กลิ่น สี และสารเคมี มีอายุการใช้งานประมาณ 6-12 เดือน
- ไส้กรองเมมเบรน RO (RO Membrane) เป็นไส้กรองที่ใช้ในการกรองสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กมากระดับไมครอน ยกตัวอย่างเช่น เกลือ แร่ธาตุ ไวรัส มีอายุการใช้งานประมาณ 2-3 ปี (ทืั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแหล่งน้ำดิบด้วยว่าเป็นน้ำอะไร หากเป็นน้ำกร่อยหรือน้ำบาดาลที่ไม่ได้ผ่านการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมาก่อนก็อาจต้องเปลี่ยนไวกว่านั้น)
- ไส้กรองคาร์บอน (Carbon Filter) เป็นไส้กรองที่ใช้ในการปรับปรุงรสชาติของน้ำ มีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี
- ไส้กรองแร่ธาตุ (Mineral Filter) หรือ Alkaline Filter เป็นไส้กรองที่ใช้เพิ่มแร่ธาตุและลดความเป็นกรด-ด่างในน้ำ มีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: ไส้กรองน้ำคืออะไร สำคัญกับการกรองน้ำอย่างไร
2. ปั๊มน้ำ (Pump)
เป็นปั๊มที่ใช้ในการสร้างแรงดันให้กับระบบ RO ถือเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนที่สำคัญไม่แพ้ไส้กรองเลยทีเดียว เพราะปั๊มน้ำจะช่วยให้ระบบกรองน้ำ RO ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มและระบบกรองโดยรวมอีกด้วยค่ะ สำหรับอายุการใช้งานของปั๊มน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 3-5 ปี (อาจมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลของแต่ละคน) ปั๊มน้ำ RO แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามกลไกการทำงาน ได้แก่ ปั๊มน้ำแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Pump) และปั๊มน้ำแบบโรตารี (Rotary Pump) โดยแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียและรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ปั๊มน้ำแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Pump) เป็นปั๊มน้ำที่ใช้แผ่นไดอะแฟรมสร้างแรงดันน้ำ ตัวปั๊มมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา จึงใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยและมีราคาที่ถูกกว่าปั๊มน้ำแบบโรตารี แต่อาจสร้างแรงดันได้ไม่สูงมากนัก จึงเหมาะสำหรับเครื่องกรองน้ำ RO สำหรับครัวเรือน (50-100 GPD)
- ปั๊มน้ำแบบโรตารี (Rotary Pump) เป็นปั๊มน้ำที่อาศัยการหมุนของโรเตอร์หรือใบพัดในการสร้างแรงดันน้ำ แม้ตัวปั๊มจะมีขนาดใหญ่ สร้างแรงดันน้ำได้สูงมาก และมีความทนทานมากกว่าปั๊มน้ำแบบไดอะแฟรม แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงด้วยเช่นกัน จึงเหมาะสำหรับเครื่องกรองน้ำระบบ RO เชิงอุตสาหกรรมหรือเชิงพาณิชย์ (200 GPD ขึ้นไป)
3. โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve)
เป็นวาล์วชนิดหนึ่งที่ใช้ควบคุมการไหลของของเหลวหรือก๊าซในระบบ RO โดยใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Force) ในการเปิด-ปิดวาล์ว แทนการควบคุมด้วยมือหรือกลไกแบบทั่วไป เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านคอยล์แม่เหล็กไฟฟ้า จะเกิดสนามแม่เหล็กดึงแกนกลาง (Plunger) เลื่อนขึ้น/ลง เพื่อให้วาล์วเปิด/ปิด และเมื่อไฟฟ้าถูกตัดออก สนามแม่เหล็กจะหายไปด้วย ส่วนสปริงที่อยู่ภายในจะดันแกนกลางให้กลับไปยังตำแหน่งเดิม นอกจากนี้ยังควบคุมน้ำทิ้งที่ไหลออกจากระบบและเสริมระบบกรองให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพด้วยโดยการทำงานร่วมกับปั๊มน้ำและเซ็นเซอร์แรงดัน (Pressure Switch) โซลินอยด์วาล์วมีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี (ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำและความถี่ในการใช้งาน) แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- โซลินอยด์วาล์วแบบปกติปิด (Normally Closed – NC) เป็นประเภทของวาล์วที่ใช้บ่อยในเครื่องกรองน้ำ RO ใช้ในระบบที่ต้องการปิดการไหลเมื่อไฟฟ้าถูกตัด จะเปิดก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน
- โซลินอยด์วาล์วแบบปกติเปิด (Normally Open – NO) เป็นวาล์วที่ใช้ในระบบที่ต้องการให้มีการไหลในสภาวะปกติและปิดก็ต่อเมื่อกระแสไฟฟ้าผ่าน
- โซลินอยด์วาล์วแบบหลายทาง (Multi-Way Solenoid Valve) เป็นวาลว์ที่มีช่องทางการไหลหลายช่องทางเพื่อให้ควบคุมทิศทางหรือเปลี่ยนเส้นทางการไหลในระบบได้
4. ถังเก็บน้ำ (Storage Tank)
เป็นถังสำหรับเก็บน้ำบริสุทธิ์ที่ได้จากกรองด้วยไส้กรองเมมเบรน RO มาแล้ว เพื่อให้มีน้ำที่พร้อมใช้งานในปริมาณที่เพียงพอ เหมาะสำหรับระบบกรองน้ำที่มีกำลังการกรองต่ำอย่างเครื่องกรองน้ำ RO ที่ใช้ภายในครัวเรือน นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความดันน้ำด้วยไดอะแฟรม (Bladder) ซึ่งเป็นแผ่นยางยืดหยุ่นที่แบ่งถังเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนเก็บน้ำที่บรรจุน้ำบริสุทธิ์ และส่วนแรงดันอากาศที่ช่วยดันน้ำออกจากถังเมื่อเปิดใช้งาน และช่วยให้คุณมีน้ำดื่มในทันทีโดยไม่ต้องรอน้ำกว่าจะกรองเสร็จ เนื่องจากการกรองน้ำ RO มีอัตราการผลิตน้ำช้า (เฉลี่ยประมาณ 8-12 ลิตร/ชั่วโมง) ถังเก็บน้ำจึงช่วยให้มีน้ำใช้ในทันที อายุการใช้งานของถังเก็บน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 5 ปีขึ้นไป แต่ถึงอย่างไรก็ดีควรล้างทำความสะอาดปีละ 1 ครั้ง
5. หัวจ่ายน้ำ (Faucet)
เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งบริเวณจุดใช้น้ำในระบบ RO มีหน้าที่จ่ายน้ำบริสุทธิ์ที่ผ่านการกรองมาแล้วมายังหัวจ่ายให้พร้อมต่อการใช้งาน และทำหน้าที่เปิด/ปิดการไหลของน้ำให้พร้อมใช้งาน อีกทั้งช่วยป้องกันน้ำไหลทิ้งได้อีกด้วย หัวจ่ายน้ำ RO แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หัวจ่ายน้ำแบบมาตรฐาน (Standard RO Faucet), หัวจ่ายน้ำแบบคู่ (Dual Faucet) สำหรับกรองน้ำดื่มและใช้งานอย่างอื่น และหัวจ่ายน้ำแบบสัมผัส (Touch Sensor Faucet) ที่เปิด-ปิดการไหลของน้ำด้วยระบบสัมผัส แม้จะไม่มีอายุการใช้งานที่แน่ชัดแต่หากพบว่าหัวจ่ายน้ำชำรุดให้รีบเปลี่ยนทันที
6. ท่อน้ำและข้อต่อ (Tubes and Connectors)
เป็นท่อสำหรับลำเลียงน้ำตามต่าง ๆ ของระบบ ได้แก่ ท่อลำเลียงจากแหล่งน้ำเข้าสู่เครื่องกรอง, ท่อระหว่างไส้กรอง ท่อลำเลียงไปยังถังเก็บน้ำหรือหัวจ่ายน้ำ ตัวท่อผลิตจากวัสดุที่ทนทานต่อแรงดันสูงได้ดีและไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำอย่าง PE (Polyethylene) และ PVC (Polyvinyl Chloride) ตัวท่อมีขนาดมาตรฐานประมาณ 1/4 นิ้ว (6.35 มม.) สำหรับครัวเรือน และ 3/8 นิ้ว (9.52 มม.) สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ส่วนข้อต่อ RO เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อท่อน้ำเข้ากับส่วนต่างๆ ของระบบกรอง เช่น ไส้กรอง, ถังเก็บน้ำ, หรือหัวจ่ายน้ำ นอกจากนี้ตัวท่อยังช่วยป้องกันการรั่วซึมและรองรับแรงดันน้ำโดยไม่แตกหรือรั่วไปในตัว มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ ข้อต่อแบบสวมเร็ว (Quick-Connect Fitting), ข้อต่อเกลียว (Threaded Fitting), ข้อต่อลด (Reducer), สามทาง (Tee Fitting) และตัวล็อกท่อ (Tube Clips) สำหรับอายุการใช้งานของท่อน้ำและข้อต่อจะอยู่ที่ 5 ปีขึ้นไป แต่ถึงอย่างไรก็ควรตรวจสอบรั่วซึมเป็นประจำด้วยนะคะ
สุดท้ายนี้หากคุณกำลังตัดสินใจจะซื้อหรือเปลี่ยนไส้กรองน้ำ/เครื่องกรองน้ำก็ตาม เราขอแนะนำให้คุณศึกษาข้อมูลของแต่ละแบรนด์ด้วยนะคะว่าแบรนด์ไหน รุ่นไหนใช้ไส้กรองแบบใด ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณได้ดื่มน้ำจากเครื่องกรองคุณภาพสูง ไม่ต้องมานั่งเปลี่ยนไส้กรองบ่อยๆ ที่อาจต้องเสียทั้งเงินทั้งเวลา แถมยังเสียสุขภาพจิตอีกด้วยค่ะ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: เครื่องกรองน้ำราคาสูงดีจริงมั้ย? ราคาแบบไหนถึงเหมาะสำหรับคุณ
บทความที่น่าสนใจ
- เครื่องกรองน้ำ UV คืออะไร มีข้อดีข้อเสีย คุ้มกว่า RO หรือไหม
- เครื่องกรองน้ำบาดาล ใช้ในบ้าน คุ้มไหม ระบบ RO ดีกว่ายังไง
- ติดตั้งเครื่องกรองน้ำเอง ดีไหม ติดตั้งอย่างไรไม่ให้มีปัญหาตามมา
เครื่องกรองน้ำ RO ทำไมต้อง Live Healthy
สำหรับใครที่ต้องการดื่มน้ำสะอาดและกำลังมองหาเครื่องกรองน้ำดื่มที่มีระบบกรองน้ำดื่มคุณภาพดี การันตีด้วยรีวิวจากผู้ใช้มากมาย และบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม ทางเรา LIVE HEALTHY มีเครื่องกรองน้ำด่างจัดจำหน่ายหลากดีไซน์หลายประเภท ทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบตั้งพื้น เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทุกท่าน เราเป็นผู้จัดจำหน่ายและให้บริการเครื่องกรองน้ำอัลคาไลน์ชั้นนำจากบริษัท KYK CO.,LTD ของเกาหลีมาอย่างยาวนานถึง 13 ปี ตัวเครื่องสามารถผลิตน้ำที่ให้ค่า pH ได้ถึง 9 ระดับ แถมยังมีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป นอกจากการใช้งานที่คุ้มค่าแล้ว ทางเรายังมีบริการหลังการขายแบบ On Site Service โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ พร้อมดูแลเครื่องกรองน้ำของท่านถึงที่บ้าน หากใครกังวลใจเรื่องไส้กรองตกรุ่น ทางเรามีไส้กรองพร้อมเปลี่ยนทันที สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมคลิกลิงก์นี้ได้เลยค่ะ