แม้ว่าการดื่มน้ำเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่หากดื่มมากเกินไปอาจก่อให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ด้วยเช่นกัน วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับภาวะดังกล่าวเพื่อให้คุณตระหนักถึงความสำคัญของการดื่มน้ำที่ถูกต้องและหาวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้ดื่มน้ำมากเกินไปนั่นเองค่ะ
ภาวะน้ำเป็นพิษ (Water intoxication) คืออะไร
เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับน้ำจากการดื่มน้ำมากเกินความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเลือดสูงและเกิดภาวะโซเดียมในเลือดน้อย เนื่องจากน้ำจะเจือจางอิเล็กโทรไลต์ในเลือด ทำให้โซเดียมในร่างกายลดลง ส่งผลให้การปรับสมดุลของของเหลวทั้งภายนอกและภายในเซลล์ลดลงและเกิดภาวะโซเดียมในเลือดน้อยลงแบบเจือจาง ทำให้เซลล์บวมและส่งผลกระทบต่อเซลล์สมอง เกิดอาการปวดศีรษะ, เป็นตะคริว, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิต
ภาวะน้ำเป็นพิษเกิดกับใครได้บ้าง
- นักกีฬาที่ออกแรงมาก เช่น นักวิ่งมาราธอน, นักแข่งจักรยาน, นักฟุตบอล เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำผ่านทางเหงื่อมากกว่าคนทั่วไป จึงต้องดื่มน้ำระหว่างการแข่งขันมากกว่าปกติ
- ผู้ที่ทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากหรือเสี่ยงต่อการเหงื่อออกง่าย ได้แก่ อยู่ในพื้นที่ที่มีแดดจัด, ทานยาบางประเภท เช่น ยากลุ่ม MDMA ที่ทำให้ร่างกายสูญเสียโซเดียมออกทางเหงื่อมากและรู้สึกกระหายน้ำง่ายขึ้น
- ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องทานอาหารผ่านการให้สารน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำง่าย เนื่องจากอาหารที่ให้ผู้ป่วยจะมีโซเดียมต่ำกว่าอาหารทั่วไป
- เด็กอ่อนที่มีอายุต่ำกว่า 9 เดือน เนื่องจากร่างกายเด็กวัยนี้จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูงประมาณ 75% บวกกับร่างกายของเด็กยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ จึงสะสมโซเดียมได้น้อยและเสี่ยงต่อภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
- ทารกแรกเกิดที่คุณแม่ใช้สารเสพติด หรือคุณแม่ที่ให้อาหารเจือจางกับน้ำแทนการให้นม
- ผู้ป่วยทางจิตเวช จะมีความต้องการดื่มน้ำในปริมาณมากอยู่บ่อยครั้ง
- ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคที่ส่งผลให้ร่างกายสะสมน้ำมากกว่าคนทั่วไป เช่น โรคตับ, โรคไต, โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน
สังเกตอาการได้ง่าย ๆ ดังนี้
- รู้สึกกระหายน้ำมากผิดปกติ
- ปวดศีรษะ รู้สึกมึนหัว
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เป็นตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ง่วงนอน รู้สึกอ่อนเพลีย
- มีไข้สูง ไอเป็นเลือด
- ร่างกายบวม เหนื่อยหอบง่ายเมื่อต้องใช้แรง
- หากรุนแรง อาจเกิดลมชักหรือหมดสติ
ผลข้างเคียงจากภาวะน้ำเป็นพิษ
- หากโซเดียมในเลือดต่ำอันเนื่องมาจากการดื่มน้ำมากเกิน จะทำให้ร่างกายมีค่าของโซเดียมต่ำกว่า 135 mEq/L ซึ่งอยู่ในสภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ทำให้ร่างกายเสียสมดุลและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
- เกิดภาวะบวมน้ำในเซลล์สมอง ส่งผลให้คลื่นไส้ อาเจียน, มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น, พูดลำบากมากขึ้น หากรุนแรงอาจไม่รู้สึกตัวหรือหมดสติ รวมถึงอาจเกิดอาการชักตามมา
- เกิดน้ำคั่งในช่องท้อง (ท้องมาน) ทำให้รู้สึกแน่นท้อง, กินอาหารหรือหายใจลำบาก
ป้องกันภาวะดังกล่าวได้อย่างไร
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 1.5-2 ลิตร/วัน แต่หากคุณต้องการดื่มน้ำให้ตรงตามความต้องการต่อวันของร่างกายคุณมากที่สุด ขอแนะนำให้คำนวณจากสูตรนี้ “น้ำหนัก (กิโลกรัม) คูณด้วย 2.2 คูณด้วย 30 หารด้วย 2” ตัวอย่างเช่น น้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม × 2.2 × 30 / 2 จะเท่ากับ 1,815 มิลลิลิตรต่อวัน
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการดื่มน้ำมาก โดยเฉพาะการอยู่ในพื้นที่ที่มีแดดแรง หรือการใช้แรงโดยไม่จำเป็น
- หากต้องใช้ยาที่มีผลต่อการดื่มน้ำมาก ๆ ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ที่ทำการรักษาก่อนเสมอ
- ทานอาหารที่มีโซเดียมสูงภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- ไม่ใช้ยาอื่นนอกเหนือจากคำสั่งแพทย์
แนะนำปริมาณและช่วงเวลาดื่มน้ำที่เหมาะสมต่อร่างกาย
- ดื่ม 1 แก้วทันทีหลังจากตื่นนอน การดื่มน้ำทันทีหลังจากตื่นนอนจะช่วยชดเชยน้ำที่เสียไปจากการนอนตลอดทั้งคืน ที่สำคัญควรดื่มน้ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ (น้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น) เนื่องจากสมองของคนเราประกอบไปด้วยน้ำมากถึง 75% ดังนั้นการดื่มน้ำนอกจากจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวแล้ว ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่งด้วย ทั้งนี้ไม่ควรดื่มน้ำที่ร้อนเกินไป เพราะนอกจากจะระคายเคืองช่องปากแล้ว ยังส่งผลให้ไตเสียหายในระยะยาว หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้เซลล์สมองอักเสบตามมาอีกด้วย
- ดื่ม 1 แก้ว เวลา 08.00 น. แนะนำให้ดื่มก่อนมื้อเช้าอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบย่อยอาหารถูกรบกวนจนท้องอืดและกินข้าวน้อยลง
- ดื่มน้ำ 1 แก้ว เวลา 09.00 – 10.00 น. ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นและกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายขับของเสียออกง่ายขึ้น
- ดื่มน้ำ 2 แก้ว (หลังมื้อกลางวัน) เวลา 13.00 – 16.00 น. เราแนะนำให้จิบเป็นระยะ นอกจากจะช่วยดับกระหายแล้วยังเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวด้วย ทั้งนี้ไม่ควรดื่มรวดเดียว เพราะจะทำให้ปวดท้องปัสสาวะง่าย
- ดื่มน้ำ 2 แก้ว (ก่อนมื้อเย็น) เวลา 17.00 – 19.00 น. หรือก่อนมื้ออาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบย่อยอาหารถูกรบกวนจนท้องอืดและกินข้าวน้อยลง
- ดื่มน้ำ 1 แก้ว เวลา 19.00 – 21.00 น. เน้นจิบเป็นระยะ ช่วยให้ระบบเลือดและระบบลำไส้ทำงานดีขึ้น ทั้งนี้ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป เนื่องจากร่างกายไม่ได้ทำงานหนักเหมือนช่วงอื่นของวัน
- ดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนนอน (ไม่ควรเกินเที่ยงคืน) เพื่อชะล้างสิ่งตกค้างภายในลำไส้ เราขอแนะนำว่าไม่ควรดื่มก่อนเวลานอนทันที เพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะกลางดึก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท เวลาตื่นมาอาจรู้สึกง่วงซึมและเหนื่อยง่ายตลอดวัน
นอกจากนี้คุณควรเลือกดื่มน้ำสะอาดเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวด้วย สำหรับใครที่อ่านจบแล้วสนใจน้ำสะอาดจากเครื่องกรองน้ำด่างคุณภาพดี การันตีด้วยรีวิวจากผู้ใช้มากมาย และบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม ทางเรา LIVE HEALTHY มีเครื่องกรองน้ำด่างจัดจำหน่ายหลากดีไซน์หลายประเภท ทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบตั้งพื้น เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทุกท่าน เราเป็นผู้จัดจำหน่ายและให้บริการเครื่องกรองน้ำอัลคาไลน์ชั้นนำจากบริษัท KYK CO.,LTD ของเกาหลีมาอย่างยาวนานถึง 13 ปี ตัวเครื่องสามารถผลิตน้ำที่ให้ค่า pH ได้ถึง 9 ระดับ แถมยังมีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป นอกจากการใช้งานที่คุ้มค่าแล้ว ทางเรายังมีบริการหลังการขายแบบ On Site Service โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ พร้อมดูแลเครื่องกรองน้ำของท่านถึงที่บ้าน หากใครกังวลใจเรื่องไส้กรองตกรุ่น ทางเรามีไส้กรองพร้อมเปลี่ยนทันที สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมคลิกลิงก์นี้ได้เลยค่ะ